แนวสายทางและทางขึ้น-ลง CEX_Page_1

โครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา)

คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ระยะทาง 16.21 กิโลเมตร โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ เพื่อรองรับการให้บริการด้านการจราจรและขนส่งให้สอดคล้องกับการพัฒนาและการเจริญเติบโตของพื้นที่ตัวเมืองที่มีแนวโน้มพัฒนาไปทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และสามารถรองรับการขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) มิติการพัฒนาภาคการผลิตและบริการเป้าหมายหมุดหมายที่ 5 ประตูการค้า การลงทุนและโลจิสติกส์ และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม (พ.ศ. 2563-2565) ระยะที่ 1 ด้านการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และยังเป็นโครงการที่อยู่ในแผนการพัฒนาโครงการทางพิเศษเพิ่มเติมที่จะช่วยแก้ปัญหาจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2569) ซึ่งคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกได้มีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบสรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกแล้วเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565
โครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ระยะทางประมาณ 16.21 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นทางหลักของโครงการฯ เชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัชที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจตุโชติบริเวณถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) ที่กิโลเมตร 0+000 จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตัดผ่านถนนหทัยราษฎร์และถนนนิมิตใหม่ และเลี้ยวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีจุดสิ้นสุดทางหลักของโครงการฯ บริเวณกิโลเมตร 14+000 และมีระยะทางเชื่อมทางขึ้น – ลง ไปสู่ถนนลำลูกกา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312) ประมาณ 2.21 กิโลเมตร มีทางแยกต่างระดับ 1 แห่ง และทางขึ้น-ลง 3 แห่ง ได้แก่ (1) ทางแยกต่างระดับจตุโชติ บริเวณกิโลเมตร 1+900 (2) ทางขึ้น-ลง จตุโชติ 1 และหทัยราษฎร์ 1 บริเวณกิโลเมตร 4+000 (3) ทางขึ้น-ลง หทัยราษฎร์ 2 บริเวณกิโลเมตร 6+200 และ (4) ทางขึ้น-ลง ถนนลำลูกกา บริเวณกิโลเมตร 14+000 มีด่านเก็บค่าผ่านทาง 3 ด่าน ได้แก่ ด่านจตุโชติ ด่านหทัยราษฎร์ และด่านลำลูกกา โดยมีแนวสายทางโครงการฯ ดังนี้

รูปแบบโครงสร้างทางพิเศษ เป็นทางพิเศษยกระดับโดยออกแบบเป็นเสาเดี่ยว (Single Column) รูปตัว T รองรับโครงสร้างส่วนบนสำหรับทางพิเศษ 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง สำหรับช่วงที่มีพื้นที่จำกัดเนื่องจากมีถนนระดับดิน (At grade) ใต้ทางพิเศษได้ออกแบบโครงสร้างเป็นเสาเดี่ยว (Single Column) รูปตัว Y รองรับโครงสร้างส่วนบนสำหรับทางพิเศษ 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) เสาเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ คานขวางเป็นโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete) ระบบคานที่ใช้จะเป็นคานคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จรูปตัวไอ (I-Girder) และคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวซี (C-Girder) และสำหรับโครงสร้างส่วนบนเป็นพื้นคอนกรีตเททับผิวหน้าด้วยแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (Asphaltic Concrete) วางบนคาน (Slab on Girder) ระบบฐานรากจะก่อสร้างบนเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ได้มีการออกแบบด้านวิศวกรรมทางให้รองรับความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนี้

 

เนื่องจากโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) เป็นงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีลักษณะเป็นทางยกระดับระดับชั้น ที่ 2-3 (ระดับความสูงประมาณ 12-20 เมตร) และมีงานก่อสร้างบางส่วนอยู่บนพื้นที่การจราจรเดิมที่เปิดใช้งาน ได้แก่ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก ถนนหทัยราษฎร์ ถนนจตุโชติ และถนนลำลูกกา ซึ่งมีปริมาณจราจรหนาแน่น โดยบางช่วงต้องก่อสร้างพาดผ่านถนนสาธารณะที่เปิดใช้บริการตลอด 24 ชม. รวมถึงยังมีพื้นที่ก่อสร้างบางส่วนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่พักอาศัยของประชาชน จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมงานการทำงานให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของระยะเวลา การเบี่ยงและบริหารจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง การควบคุมความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่จะกระทบต่อบุคคลภายนอกในระหว่างการการก่อสร้าง ตลอดจนมีระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจร และระบบจราจรอัจฉริยะ โดยการดำเนินการก่อสร้างโครงการได้ทำการแบ่งสัญญาออกเป็น 5 สัญญา โดยคำนึงถึงความรวดเร็วและความปลอดภัยในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างและการบริหารสัญญาประกอบด้วย งานโยธา งานไฟฟ้า และงานเครื่องกล 4 สัญญา และงานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจรและระบบสื่อสาร 1 สัญญา ดังนี้
สัญญาที่ 1 (งานโยธาฯ) งานก่อสร้าง Mainline และทางแยกต่างระดับจตุโชติ โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม. 0+000 ถึง กม. 3+127 รวมระยะทางประมาณ 3.127 กิโลเมตร
สัญญาที่ 2 (งานโยธาฯ) งานก่อสร้าง Mainline โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม. 3+127 ถึง กม. 5+961 รวมระยะทางประมาณ 2.834 กิโลเมตร
สัญญาที่ 3 (งานโยธาฯ) งานก่อสร้าง Mainline โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม. 5+961 ถึง กม. 11+040 รวมระยะทางประมาณ 5.079 กิโลเมตร
สัญญาที่ 4 (งานโยธาฯ) งานก่อสร้าง Mainline และทางแยกต่างระดับลำลูกกา โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม. 11+040 ถึง กม. 14+000 รวมระยะทางประมาณ 2.960 กิโลเมตร
สัญญาที่ 5 งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทางฯ

 

 

 

 

 

 

 

Contact Us
Contact Us